วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Big Data คืออะไร


Big Data คืออะไร

คำว่า Big Data ข้อมูลในปริมาณมาก ซึ่งข้อมูลนั้นมีปริมาณที่มาก การเติบโตที่รวดเร็ว และมีความหลากหลายทั้งที่มีโครงสร้าง(Structured) หรือไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) อีกด้วย โดยในระบบ Internet ในยุคที่ Social Media ที่เฟื่องฟู มีสารสนเทศเกิดขึ้นจำนวนมาก ทุกๆ คนสามารถที่จะพร้อมผลิตข้อมูล มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมทั้ง อุปกรณ์ (Device) ที่มีจำนวนมากและยังมีอัตราการขยายตัวที่สูงอีกด้วย ทั้ง Smart Device, IoT (Internet of Things) ที่รองรับการเข้าถึง การใช้งาน ข้อมูลจำนวนมากๆ ได้อย่างง่ายดาย และสร้างข้อมูลออกมามากมายในแต่ละวัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บิ๊กดาต้า

คุณสมบัติของ Big Data จะมีด้วยกัน 3 มุมมอง คือ
  • Volume : ข้อมูลมีปริมาณมาก อยู่ในระดับ Terabytes ขึ้นไป
  • Variety : ข้อมูลมีรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ รูปภาพ วีดิโอ มัลติมีเดีย
  • Velocity : ข้อมูลจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและรวดเร็


Big Data ในมุมมองผู้บริหาร

  • การ Capture ข้อมูลที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นในรูปแบบ Real-time ย่อมจะทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลในมิติต่างๆ ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีคุณสมบัติที่เป็น Big Data คือมีทั้ง Volume, Variety และ Velocity
  • เนื่องจากเทคโนโลยีเกี่ยวกับข้อมูลมีจำนวนมากขึ้น การเลือกใช้เทคโนโลยีเดิม อาจจะไม่เพียงพอที่จะนำเอาข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจขององค์กรได้ ดังนั้นต้องเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ยุค 5G

       ยุค 5G มันคือ Generation 5 หรือรุ่นที่ 5 ของการสื่อสารที่อนาคตมันจะไม่ใช่แค่มือถือแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือIoT) ว่ากันว่าถ้าเรามี 5G เราจะดาวน์โหลดวีดีโอ หนังหรือแอปฯได้เร็วถึง 10,000 Mbps! ถ้าใช้ 4G ดูวิดีโอออนไลน์ (ขนาด 8K) หรือดาวน์โหลดหนังต้องรอ 6 นาที แต่ถ้ามี 5G ใช้เวลาแค่ 6 วินาที!

   150518144020-5g-wireless-table-780x439

5G ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?
      แน่นอนว่าถ้ามี 5G จะทำให้เราดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ เปิดเว็บไซต์บนมือถือได้เร็ว ไม่มีสะดุด แม้แต่วีดีโอที่มีความละเอียดสูงๆ แต่ประโยชน์ของ 5G มันไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้นน่ะสิ เพราะว่าในอนาคต ถ้ามี IoT เราจะได้เห็นการทำงานของสมาร์ทดีไวซ์ที่มากกว่าแค่สมาร์ทโฟน สมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกันผ่าน 5G ก็จะส่งข้อมูลหากันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น



IOT Internet of Things



Internet of Things หรือ IoT คืออะไร


Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น

กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้

นอกจากนั้น Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลของคุณผ่านทางออนไลน์ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้งานบ่อยๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Internet of Things สมัยนี้ผู้ใช้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ คือ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม ทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แถมยังมีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากหลาย ช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flash drive ต่างๆ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ iot internet of things

รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่ 10

รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่ 10 ห้อง 5/6

3232993นางสาวดารารัตน์ สงวนวงค์
3431483นายเอกกฤต ระเบียบดี
3631494นางสาวพัชรา สุขศรี

ปัญญาประดิษฐ์ A.I ผู้ช่วยโลก

ปัญญาประดิษฐ์ A.I ผู้ช่วยโลก


ที่มา https://youtu.be/D2oGTnz6qJI

ปัญญาประดิษฐ์ (อังกฤษartificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่น ๆ เช่น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง